เรื่องของ “การจัดการขยะ” เป็นหนึ่งในประเด็นที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ เพราะสามารถช่วยลดการสร้างมลพิษให้กับโลกได้ ไม่ว่าจะเป็นการลดขยะ (Reduce) การนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า (Reuse) และการแปรรูปขยะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ (Recycle)
หนึ่งในระดับของการจัดการขยะที่มีความสำคัญคือ “ระดับองค์กร” ซึ่งในที่นี้หมายความรวมทั้งหน่วยงานเอกชน หน่วยงานภาครัฐ ชุมชน คอมมูนิตี้ต่าง ๆ เพราะเป็นกลุ่มที่จะสามารถขยายการจัดขยะไปสู่สังคมโดยรวมได้
คุณธนบูรณ์ สมบูรณ์ ผู้ก่อตั้ง Greenery โครงการขับเคลื่อนสังคมที่พยายามสื่อสารเรื่องของสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน กล่าวว่า “การจัดการขยะสำคัญมาก ๆ เพราะคนทุกคนเป็นต้นกำเนิดการสร้างขยะ ฉะนั้นถ้าเราช่วยกันจัดการขยะ เราก็เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ให้ดีขึ้น”
เขาเสริมว่า สถานการณ์การจัดการขยะในไทยดีขึ้น โดย Greenery ซึ่งขับเคลื่อนเรื่องสิ่งแวดล้อมและการจัดการขยะมา 6 ปีเต็มมองเห็นว่า 6 ปีที่ผ่านมา ภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน ขยับขึ้นมาให้ความสำคัญการลดขยะหรือการจัดการขยะมากขึ้น
ผู้ก่อตั้ง Greenery บอกว่า คนในแต่ละองค์กรมีความสำคัญ เพราะคนในแต่ละองค์กรมีเป็นร้อยเป็นพัน ถ้าลดขยะคนละชิ้นสองชิ้น เท่ากับคนเป็นพันเป็นหมื่นช่วยลดขยะได้มหาศาล
“ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา กระแสการจัดการขยะในองค์กรในบ้านมันมาแรง ถึงเวลาแล้วที่คนยังไม่เปลี่ยนต้องเริ่มเปลี่ยน เพราะการเปลี่ยนของคนหนึ่งคน องค์กรหนึ่งองค์กร ก็สามารถทำให้โลกดีขึ้นได้ ต้องช่วยกัน” คุณธนบูรณ์กล่าว
ด้าน คุณวิลาวัลย์ ปานยัง ผู้ร่วมก่อตั้ง Environman องค์กรด้านสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า “การจัดการขยะภายในองค์กรมันส่งผลมาก ๆ องค์กรมันเป็นเหมือนบ้านหลังใหญ่ บางคนอยู่ 4 ที่ บางคนอยู่ 3 ที่ แต่ว่า การจัดการขยะในองค์กรมันเหมือนคนหลาย ๆ คนเป็นร้อยเป็นพันคนที่อยู่ในบ้านหลังเดียวกัน มาจัดการขยะร่วมกัน ดังนั้นการแยกขยะในองค์กรมันเป็นเหมือนจุดเริ่มต้นที่จะทำให้การแยกขยะมันง่ายแล้วก็สะดวก แล้วที่สำคัญคือมันมีกลุ่มคนกลุ่มใหญ่ที่ทำมัน เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจน”
เธอยกตัวอย่างการจัดการที่ตลาดแห่งหนึ่งในจังหวัดน่าน ซึ่งเป็นเหมือนองค์กรที่มีการจัดการขยะที่ละเอียดมาก มีคนมีความรู้ความเชี่ยวชาญมาช่วยแยกขยะ รู้แม้กระทั่งว่า ในตลาดแพ็กเกจจิ้งประเภทไหน หรือขยะประเภทไหนที่จะถูกปล่อยออกไปข้างนอก แล้วเขาก็จัดการมัน
คุณวิลาวัลย์ยกตัวอย่างองค์กรที่เป็นตัวอย่างของการจัดการขยะในระดับองค์กร คือ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด บริษัทธุรกิจด้านการค้าปลีกและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ปัจจุบันเป็นเจ้าของและผู้บริหารสยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ และอาคารสำนักงานสยามพิวรรธน์ทาวเวอร์
โดยที่ผ่านมา สยามพิวรรธน์ได้ดำเนินโครงการหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น 360° Waste Journey to Zero Waste ที่มุ่งจัดการขยะแบบ 360 องศา ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ซึ่งทำมา 4 ปีแล้ว หรือการตั้งจุดรับขยะรีไซเคิล Recycle Collection Center ซึ่งนโยบายเหล่านี้ คุณนราทิพย์ รัตตประดิษฐ์ ประธานบริการสายงานปฏิบัติการ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ยืนยันว่า สามารถลดขยะที่ต้องไปฝังกลบลงได้ถึง 30%
คุณนราทิพย์กล่าวว่า “เรื่องขยะจะเห็นว่า 5 ปีหลังมา มันเป็นภาระหนักของผู้คนมาก แต่สิ่งที่เราทำมาสมัยก่อน ตั้งแต่คนยังไม่พูดเรื่องโลกร้อน เราก็พยายามกิจกรรมที่จะจูงใจให้ผู้คนเข้ามาร่วมกิจกรรมกับเรามากขึ้น เราก็มีพันธมิตร ทั้งรัฐเอกชน เพื่อส่งมอบโลกนี้ที่งดงามให้คนโลกต่อไป”
เธอเสริมว่า “เราอยากให้มีขยะฝังกลบเหลือน้อยที่สุด เริ่มตั้งแต่ต้นทาง คือพวกเราทุกคน เริ่มต้นจากพนักงานของเราเองก่อน ให้ความรู้พนักงานเรา ลูกค้าเรา ว่าการคัดแยกขยะเป็นเรื่องที่ง่ายมาก แค่ช้อปปิ้งไม่เอาถุง คือการลดขยะด้วยการปฏิเสธ หรือถ้าบางครั้งต้องรับ ก็คัดแยกให้มันถูกต้อง เราพยายามทำให้มันเป็นคอมมูนิตี้คนรักษ์โลก”
และการดำเนินงานของสยามพิวรรธน์ไม่ได้จบอยู่แค่ภายในองค์กรของตัวเอง เพราะชุมชน โรงเรียน ภาคส่วนต่าง ๆ โยรอบ ก็เข้ามามีส่วนร่วมช่วยกันจัดการขยะมากขึ้น เป็นการขยายผลของการจัดการขยะระดับองค์กรไปสู่สังคมวงกว้าง
ล่าสุด บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด จับมือ บริษัท จี-ยู ครีเอทิฟ จำกัด จัดการแข่งขัน “กีฬาเก็บขยะ” ครั้งแรกของประเทศไทย หรือ “Spogomi” เฟ้นหาตัวแทนไปแข่งขันชิงแชมป์เก็บขยะโลกที่ประเทศญี่ปุ่น โดยงานจะจัดขึ้นในวันที่ 1-2 กรกฎาคมนี้
คุณนราทิพย์กล่าวว่า “ขยะเป็นได้ทุกอย่าง เป็นความสนุก เป็นกีฬา เป็นเรื่องใกล้ตัว Spogomi จะทำให้กระแสเรื่องขยะมีความสนุกมากขึ้น”คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
แนะ 4 แนวทางหยุดวงจร ‘ขยะอาหาร’ ไม่ซื้อตอนหิว ซื้อเท่าที่จำเป็น
ยอดเขาเอเวอร์เรสต์ "เจอขยะ" สะสมนับร้อยกิโลกรัม จากนักท่องเที่ยว
เราจะทำร้ายธรรมชาติอีกแค่ไหน? พบโรคใหม่ในนกทะเล เกิดจาก “ขยะพลาสติก”
การทำให้การเก็บขยะเป็นเรื่องสนุกผ่านกีฬา เปรียบเสมือนกับกุศโลบายที่จะทำให้ผู้คนหันมาสนใจการเก็บและคัดแยกขยะมากขึ้น โดยคุณยุวเรศ เอกธุระระคัลภ์ ประธานบริหาร บริษัท จี-ยู ครีเอทิฟ จำกัด บอกว่า แนวคิดของ Spogomi คือ การนำเอาขยะ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนรู้สึกว่าสกปรก หรือเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ มาทำให้กลายเป็นกีฬา และกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องร่วมไม้ร่วมมือกันที่จะทำให้โลกใบนี้น่าอยู่ยิ่งขึ้น
เธอเล่าว่า Spogomi เกิดขึ้นจากชาวญี่ปุ่นที่ชื่อว่า เคนอิจิ มามิสึกะ เมื่อปี 2018 เขาเป็นคนที่รักกีฬามาก ๆ เป็นนักวิ่ง แล้วเขาก็เห็นขยะเกลื่อนกลาดไปหมด จึงมีความรู้สีกว่า เขาอยากจะเก็บขยะ แต่แค่เขาคนเดียวคงเปลี่ยนอะไรไม่ได้
“วันเวลาผ่านไป เขาลองเก็บขยะไปด้วย และทำให้มันสนุกไปด้วย เกิดความคิดริเริ่มว่า น่าจะทำให้มันกลายเป็นกีฬาขึ้นมา และมันไม่ควรจะเกิดขึ้นแค่เขาคนเดียว แต่ทำยังไงให้กลายเป็นวงกว้าง” คุณยุวเรศกล่าว
เธอเสริมว่า โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนกว่า 300 ล้านเยน ทำให้คนญี่ปุ่นเองได้เห็นถึงความจริงจัง ญี่ปุ่นมีการจัดการขยะที่ดีมาก ประกอบกับปรัชญาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสายชินโตที่มองว่า ขยะหรือสิ่งที่คุณใช้ มันมีจิตวิญญาณ ยังมีชีวิตจิตใจ บางครั้งคุณทิ้งมันไปก่อนอายุขัยของมัน ดังนั้นเราต้องใส่ใจขยะบางชิ้นที่มันยังใช้ได้อยู่ ก็สามารถลดขยะในส่วนเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้
“คอนเซปต์ของ Spogomi คือ ทำยังไงให้สาธารณะและบุคคลทั่วไปมีความสามัคคีและเห็นถึงปัญหาร่วมกัน และช่วยกันคนละไม้ละมือ แต่มันเป็นสิ่งที่สะท้อนอย่างหนึ่งว่า คน ๆ เดียวที่คิดขึ้นมา ณ วันนี้ขยายวงกว้าไปในจังหวัดต่าง ๆ ของประเทศญี่ปุ่น และปีนี้เป็นปีแรกที่ Spogomi จะแข่งขันทั่วโลก มี 21 ประเทศที่เข้าร่วม การเก็บขยะจะกลายเป็นกีฬา กลายเป็นความสนุก เป็นการลดมลพิษในสังคมด้วย” คุณยุวเรศกล่าว
การแข่งขันเก็บขยะครั้งแรกของประเทศไทยนี้ มีผู้เข้าแข่งขัน 60 ทีม ทีมละ 3 คน กติกาคือ ให้ผู้เข้าแข่งขันตั้งต้นจากสยามพารากอน จาดนั้นเดินออกไปเก็บขยะรอบพื้นที่สยามพารากอนตามเส้นทางที่กำหนดภายในเวลา 1 ชั่วโมง จากนั้นต้องทำการแยกขยะเป็นประเภทต่าง ๆ 4 ประเภท (ขยะพลาสติก, ขยะขวดแก้ว/กระป๋องอะลูมิเนียม, ขยะกระดาษ และขยะก้นกรองบุหรี่) เพื่อนำไปจัดการอย่างถูกวิธี มีเวลา 20 นาที
ผู้ชนะจะได้รับของรางวัล และได้สิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน Spogomi ชิงแชมปืโลกที่ประเทศญี่ปุ่นช่วงปลายปีนี้
คุณยุวเรศบอกว่า ญี่ปุ่นมีความใส่ใจในเรื่องของการคัดแยกขยะ โดยการปลูกฝังจิตสำนึกตั้งแต่เด็กประถม รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน คือบุคคลโดยทั่วไปร่วมกันคนละไม้คนละมืออย่างจริงจัง ถ้าไปญี่ปุ่นจะเห็นว่าแทบไม่มีถังขยะ แต่ก็แทบไม่มีขยะเช่นเดียวกัน หมายความว่า ทุกคนมีความตระหนัก รับผิดชอบต่อสังคม คาดหวังว่าการแข่งขันครั้งนี้ นอกจากความสนุก จะก่อให้เกิดเรื่องความใส่ใจและปลูกจิตสำนึกในตัวแต่ละคน
Spogomi คือตัวอย่างของการต่อยอดจากการจัดการขยะระดับองค์กรที่กำลังทำให้เรื่องของการจัดการขยะมีความน่าสนใจ และถูกปลูกฝังอยู่ในจิตสำนักและไลฟ์สไตล์ของเรา ดังนั้น จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า การจัดการในระดับองค์กรมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นเสมือนจุดต่อขยายการเก็บขยะให้แพร่หลายและเป็นเรื่องปกติมากขึ้น
คุณวิลาวัลย์บอกว่า “จริง ๆ อยากเป็นกำลังใจให้ใครก็ตามที่หันมาสนใจเรื่องนี้ ไม่ใช่แค่องค์กรอย่างเดียว เชื่อว่า การจัดการเรื่องนี้มันเริ่มต้นที่ความคิด แล้วก็สิ่งหนึ่งที่อยากฝากคือ อย่าไปคิดว่าเราต้องเหมือนคนอื่น อยากให้ลองดูว่า ในองค์กรของเรามีขยะประเภทไหนบ้าง หรือมีพฤติกรรมยังไงบ้าง แล้วทำให้สอดคล้องกับพฤติกรรมนั้น ๆ เชื่อว่าการจัดการขยะในองค์กรจะสำเร็จแน่นอน”