เมื่อวันที่ 26 ก.ย. ที่โรงแรมเรดิสัน บลู พลาซ่า กรุงเทพฯ นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานเปิดการสัมมนาปิดโครงการสนับสนุนการพัฒนามาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีความท้าทายของภาคการขนส่ง (TRANSfer III–Facilitating the Development of Ambitious Mitigation Actions) เพื่อเผยแพร่ความสำเร็จของความร่วมมือในการส่งเสริมการขนส่งที่สะอาดและยั่งยืนของประเทศไทย โดยมี นายนายเกออร์ก ชมิดท์ เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย นายโดมินิก้า คาลินโนวสก้า ผู้อำนวยการโครงการภาคการคมนาคมขนส่ง องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมงาน
นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ตามที่ สนข. และ GIZ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมมือกันศึกษาวิธีแก้ไขปัญหาการขนส่งที่มีความท้าทาย ทั้งการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด และการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการระบบขนส่งสาธารณะ โดยมีกรอบระยะเวลาในการศึกษา 5 ปี หรือตั้งแต่ปี 2560-2565
ทั้งนี้ในความร่วมมือดังกล่าว GIZ ได้มีการศึกษาความเป็นไปได้และความเหมาะสมของมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ถนนในเขตพื้นที่การจราจรหนาแน่นในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรในพื้นที่ที่มีความหนาแน่น พร้อมทั้งช่วยลดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ได้ 3-36% รวมถึงลดก๊าซเรือนกระจก และผลักดันให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น
นายปัญญา กล่าวต่อว่า มาตรการดังกล่าว ได้ดำเนินการในต่างประเทศในการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ถนน อาทิ สิงคโปร์ และกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งหลังจากนี้ GIZ ต้องสรุปผลส่งมายัง สนขคำพูดจาก เว็บสล็อตใหม่ล่า. ก่อนที่ สนข. จะต้องนำผลการศึกษาดังกล่าวมาพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะประโยชน์ข้อดีข้อเสีย รวมถึงผลกระทบของประชาชน เนื่องจากมีการเสียค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม สนข. จะมีการจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ก่อนเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาความเหมาะสมภายในปี 2565
ส่วนจะนำมาตรการดังกล่าว มาใช้ในประเทศไทยเมื่อไหร่นั้น ยังไม่สามารถกำหนดระยะเวลาได้ ถือเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น เนื่องจากต้องพิจารณาถึงความพร้อมของระบบขนส่งสาธารณะ เช่น โครงข่ายรถไฟฟ้าใน กทม. และปริมณฑล รวมทั้งระบบฟีดเดอร์ต่างๆ อาทิ รถโดยสารประจำทาง และระบบตั๋วร่วมที่ต้องมีความสมบูรณ์ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลา เช่น กรุงลอนดอน ได้ศึกษาเรื่องดังกล่าว มาตั้งแต่ปี 2503 แต่ใช้เวลากว่า 30 ปีถึงจะนำมาใช้จริง อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาแล้วว่า ไม่เหมาะสมและกระทบกับประชาชน ก็มีความเป็นไปได้ที่จะไม่นำมาตรการดังกล่าวมาใช้
นายปัญญา กล่าวอีกว่า ในการศึกษามาตรการดังกล่าว ทาง GIZ ได้จำลองพื้นที่นำร่องที่จะจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ถนน โดยใช้แนวเส้นทางโครงการรถรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินมาเป็นตัวกำหนดหากจะเข้าพื้นที่ใจกลางเมือง เช่น พื้นที่ย่านอนุสาวรีย์ชัย, ปทุมวัน, จตุจักร เป็นต้น เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีการเดินทางหนาแน่น ทั้งนี้จากการศึกษามาตรการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ถนนคาดว่า จะช่วยสามารถลดจราจรติดขัดได้ 20% นอกจากนี้ช่วยลดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ได้ 3-36% รวมทั้งลดก๊าซเรือนกระจก 100,000-600,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์
สำหรับอัตราค่าธรรมเนียมการใช้ถนนเบื้องต้นจำลองค่าธรรมเนียมสำหรับรถทุกประเภทในราคา 60 บาทต่อเที่ยวต่อคัน โดยคิดจากพื้นฐานของการจัดเก็บค่าทางด่วน ส่วนรูปแบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียม จะประยุกต์ใช้จากระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม่กั้น หรือ M-Flow คือ รถเข้าใช้ก่อน แล้วจ่ายทีหลัง เหมือนกับประเทศสิงคโปร์
นอกจากนี้ หากมีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ถนน จะมีแนวทางการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมระบบขนส่งสาธารณะ โดยผู้ที่มาบริหารจัดการต้องมาจากหน่วยงานกลาง เพื่อนำเงินที่จัดเก็บได้ มาปรับปรุงการให้บริการระบบขนส่งสาธารณะ รวมถึงใช้ขับเคลื่อนและพัฒนาระบบริการขนส่งสาธารณะต่างๆ เช่น การทำจุดจอดรถ เพื่อให้ผู้ที่จ่ายเงินได้ใช้ประโยชน์ ช่วยแก้ปัญหาการจราจรและสิ่งแวดล้อมด้วยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
รายงานข่าวแจ้งว่า กระทรวงคมนาคมกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก 31 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ ตามเป้าหมายการมีส่วนร่วมของประเทศ (NDC) ภายในปี 2573 และหากประเทศไทยได้รับการสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ รวมทั้งการสนับสนุนทางการเงิน เพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศประเทศไทยจะสามารถยกระดับเป้าหมาย NDC ขึ้นเป็น 40% นอกจากนี้จะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) ภายในปี 2593 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net zero greenhouse gas emission) ภายในหรือก่อนหน้า ปี 2608 ตามที่ประเทศไทยได้แสดงเจตจำนงไว้ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร