เมื่อวันที่ 21 ต.ค. ที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ เปิดเผยภายหลังร่วมพิธีเปิดตัวต้นแบบสถานีอัจฉริยะ 5G (5G Smart Station) แห่งแรกในไทยและอาเซียน ซึ่งมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานว่า ปัจจุบันสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เปิดให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง มีผู้โดยสารใช้บริการเฉลี่ยวันละประมาณ 2 หมื่นคน ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงคมนาคม มุ่งมั่นพัฒนาให้สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เป็นศูนย์กลางคมนาคมเทียบเท่าสถานีรถไฟชั้นนำของโลก ครอบคลุมทุกบริการระบบราง เชื่อมต่อทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ มีความโดดเด่นด้านการออกแบบให้เป็นสถานี “อารยสถาปัตย์” ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวตามหลัก Universal Design เน้นการให้บริการประชาชนในการเดินทางไปยังทุกจุดหมายด้วยความสะดวกสบาย รวดเร็ว และปลอดภัย
นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า การนำระบบ 5G และเทคโนโลยีดิจิทัลล้ำสมัย รวมถึงโซลูชัน 5G ต่างๆ ที่พัฒนาร่วมกับ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), คณะกรรมการขับเคลื่อน 5G แห่งชาติ, คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มาใช้ที่สถานีกลางกรุงเทพฯ จะตอบโจทย์ประชาชนผู้ใช้บริการในยุคดิจิทัล ซึ่งประชาชนทุกคนจะสามารถเข้าถึงบริการ 5G ได้อย่างเท่าเทียม และสามารถช่วยเหลือนักเดินทาง ทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศให้ได้รับความสะดวกสบาย รวดเร็ว และปลอดภัยในการใช้บริการมากยิ่งขึ้น รวมทั้งยังเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ทันสมัยในด้านการคมนาคมของประเทศด้วย
ด้านนายสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า สำหรับเทคโนโลยี 5G ที่นำมาใช้ที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ในระยะแรก ประกอบด้วย 1.หุ่นยนต์ต้อนรับ SRT Bot จำนวน 6 ตัว ให้บริการช่วยเหลือผู้โดยสาร ทั้งบริการข้อมูลการเดินทาง นำทางในสถานี แนะนำและเส้นทางการท่องเที่ยว ซึ่งสามารถโต้ตอบได้แบบเรียลไทม์ ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ พร้อมช่วยสอดส่องดูแลความปลอดภัยภายในสถานี, 2. รถเข็นอัจฉริยะ (วีลแชร์) จำนวน 7 คัน มีระบบ Automation ให้บริการช่วยเหลือผู้สูงอายุ และผู้ทุพพลภาพ สามารถเคลื่อนที่ส่งไปยังพื้นที่เป้าหมายอัตโนมัติ ควบคุมง่ายด้วยระบบสัมผัสผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ มีความปลอดภัยด้วยระบบเซ็นเซอร์ แจ้งเตือนเมื่อเข้าใกล้สิ่งของต่าง ๆ และหยุดเมื่อถึงระยะที่ใกล้เกินกำหนด พร้อมปุ่มสัญญาณขอความช่วยเหลือฉุกเฉินได้ทันที
นายสุจิตต์ กล่าวต่อว่า และ 3. กล้องวงจรปิดอัจฉริยะ (AI Security) จำนวน 121 ตัว สามารถเชื่อมต่อกล้องวงจรปิดได้ทั่วทั้งสถานี และในอนาคตจะเชื่อมต่อไปยังหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยแก่ประชาชน และผู้ใช้บริการ อย่างไรก็ตาม กล้องดังกล่าวจะมีความพิเศษมากกว่ากล้องวงจรปิดเดิม ที่ติดตั้งอยู่ในสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ อาทิ สามารถตรวจจับคนเดินล้ำเส้นเหลืองบนชานชาลา วิเคราะห์ผู้โดยสารที่มีความเสี่ยงจะเกิดอุบัติเหตุ (คนเป็นลม/ชัก) โดยจะส่งสัญญาณไปยังเจ้าหน้าที่แบบเรียลไทม์ และส่งเสียงแจ้งเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือ หรือสั่งหยุดรถไฟกรณีเหตุฉุกเฉิน เป็นต้น
นายสุจิตต์ กล่าวอีกว่า เทคโนโลยีทั้ง 3 ระบบนี้ ใช้งบประมาณในการดำเนินการ และบำรุงรักษาประมาณ 45 ล้านบาท ซึ่งหลังจากนี้จะกำหนดจุดในการจัดวางหุ่นยนต์ต้อนรับ และรถเข็นอัจฉริยะ โดยเบื้องต้นพร้อมเปิดให้บริการสำหรับผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดงก่อนภายในเดือน ต.ค.65 จากนั้นจะขยายการให้บริการเต็มระบบทั่วทั้งสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เพื่อรองรับประชาชนที่มาใช้รถไฟทางไกล ที่จะมาเปิดให้บริการภายในเดือน ธ.ค.65 ก่อนเทศกาลปีใหม่ 66 อย่างไรก็ตาม เมื่อเปิดให้บริการแล้ว จะมีการประเมินคุณภาพการบริการ พร้อมทั้งเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ใช้บริการด้วย หากพบว่าหุ่นยนต์ และรถเข็นอัจฉริยะไม่เพียงพอต่อผู้โดยสาร ทาง รฟทคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. จะจัดหาเพิ่มเติมต่อไป
ด้านนายมนัสส์ มานะวุฒิเวช กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เครือข่ายทรู 5G และเทคโนโลยีดิจิทัลล้ำสมัย จะช่วยยกระดับการบริการ และความปลอดภัยอัจฉริยะ เพื่อให้ประชาชนผู้ใช้บริการสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ได้รับความสะดวกสบาย รวดเร็ว และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนได้ใช้บริการ 5G อย่างเท่าเทียม และทั่วถึงอีกด้วย.คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง